<br>
<p style="font-size: 23px;">
	<b>วันและเวลาทำการ : </b> เวลา 09.00 - 17.00 น. เปิด อังคาร - เสาร์ (ปิดวันอาทิตย์และวันจันทร์) <br>
	<b>การให้บริการเป็นหมู่คณะ : </b> จองรอบเข้าชม จัดแบ่งกลุ่ม/รอบ ไม่เกิน 100 คน 
ใช้เวลาเข้าชมนิทรรศการและ ทำกิจกรรม ประมาณ 90 นาที  
 <br>
	<b>สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและจองรอบเข้าชม (หมู่คณะ) : </b> คุณรุทธ์ โทร : 099 552 1589 <br>
</p>
<center>
<img src="http://www.uru.ac.th/assets/new_layout/images/museqr.png" >
<br>
<a href="https://calendar.google.com/calendar/embed?src=uru.ac.th_025qdsqjt6g4pgmdludcvbb74k@group.calendar.google.com&ctz=Asia/Bangkok&pli=1" type="button" class="btn btn-success"><h2>ดูตารางการจองเข้าชมนิทรรศการ</h2></a>
</center><br>
			<p style="font-size: 22px;">
				         <b>มิวเซียมสยาม</b> พิพิธภัณฑ์แนวคิดใหม่ ณ กรุงเทพมหานคร มุ่งหวังที่จะสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงกับการให้บริการแหล่งเรียนรู้ภายใต้รูปแบบ Discovery Museum  ซึ่งเป็นสถานที่ ที่เปิดโอกาสให้คนไทยได้สนุกกับการเรียนรู้ ร่วมกันค้นหาตัวตน ค้นพบคนไทย ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ในอนาคต พร้อมต่อยอดแนวคิดนี้เป็นคาราวาน <b>Muse Mobile หรือ “มิวเซียมติดล้อ”</b> ออนทัวร์ทั่วเมืองไทย สร้างพื้นที่ของการเรียนรู้แบบใหม่สู่เด็กและเยาวชนด้วยพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ปลูกฝังความรักความภาคภูมิใจในบ้านเกิด พร้อมกระตุ้นท้องถิ่นร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ โครงการมิวเซียมติดล้อ (Muse Mobile) ขึ้นอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 43 จังหวัด ในภูมิภาคต่างๆ โดยสถาบันฯ ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานในท้องถิ่นทั้งภาครัฐและเอกชน มากกว่า 188 หน่วยงาน และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนในทุกภูมิภาคที่เข้าชมชุดนิทรรศการมากกว่า 500,000 คน</p>
				<p style="font-size: 22px;" >
<b>         “มิวเซียมติดล้อ  Muse Mobile”</b>จัดทำนิทรรศการเคลื่อนที่ จำนวน 3 ชุด โดยชุดที่ 1 ชื่อ <b>“ฮู้จักเพื่อนไทย เข้าใจตัวตน คนอีสาน”</b> ปัจจุบันจัดแสดง  ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัดนครพนม และชุดที่ 2 ชื่อนิทรรศการ “อัจฉริยภาพตัวตนคนอีสาน” จะจัดแสดง  ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี และชุดที่ 3 ในชื่อชุดนิทรรศการ “เรียงความประเทศไทย” โดยเล่าถึงประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ผ่านรูปแบบนิทรรศการที่ทันสมัยในตู้คอนเทนเนอร์ ขนาดใหญ่  โดยมุ่งหวังให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ในรูปแบบของนิทรรศการและกิจกรรมที่มีความทันสมัย รองรับการเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานและเพลิดเพลิน  ต่อยอดองค์ความรู้สู่ทุกภูมิภาค และมุ่งตรงเข้าหาเด็ก เยาวชน รวมทั้งประชาชนทั่วไป ได้รับความร่วมมือในการดำเนินโครงการนี้ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์  เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์  สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุตรดิตถ์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2 </p>
<p  style="font-size: 22px;">
         โดยตั้งเป้าหมายการสัญจรของ “Muse Mobile มิวเซียมติดล้อ” จะเป็นต้นแบบของการสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ใหม่ให้เกิดในสังคมไทย อันจะนำมาซึ่งการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป   

			</p>
			<p  style="font-size: 22px;">
				         นิทรรศการ “เรียงความประเทศไทย” ใน มิวเซียมติดล้อ (Muse Mobile) ประกอบด้วย 5 หัวเรื่องสำคัญ ซึ่งจัดแสดงอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ 5 ตู้ ได้แก่  <br><br>

<b>ตู้ที่ 1 ไทยแท้</b> <br>
         ใครรู้บ้างว่า “ไทยแท้” คืออะไร? “ไทยแท้” มีจริงหรือไม่? “ไทยแท้” ที่แท้เป็นอย่างไร? <br><br>
<b>ตู้ที่ 2 เปิดตำนานสุวรรณภูมิ</b> <br>
         แสดงถึงวิวัฒนาการสังคมก่อนจะมาเป็นบรรพบุรุษชาวสุวรรณภูมิ ซึ่งมีใจความสำคัญว่า “สุวรรณภูมิ” คือชื่อที่ชาวโลกใช้เรียกดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ทางทิศตะวันออกของอินเดียเมื่อประมาณ 3,000 ปี ก่อน ซึ่งการศึกษาโครงกระดูก หลุมฝังศพ และอารยธรรมที่ฝังอยู่ใต้ดินทำให้รู้จักดินแดนแห่งนี้มากขึ้น
<br>         ทำความรู้จักกับ “สุวรรณภูมิ” ดินแดนแห่งความมั่งคั่ง ผ่านผู้คน การเกษตร การค้า การสร้างเมือง เทคโนโลยีแห่งโลหะ และความเชื่อ (ผี-พราหมณ์-พุทธ) ซึ่งจะทำให้รู้ว่าสุวรรณภูมิ คือ รากเหง้าของประเทศไทย <br>
<br><b>ตู้ที่ 3 สยามประเทศ</b>
<br>         กรุงศรีอยุธยามีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ทั้งยังมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และด้วยอำนาจทางการเมืองที่กว้างไกล ทำให้สามารถควบคุมการผลิตภายในราชอาณาจักรได้ นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยายังเป็นอาณาจักรที่อยู่ใกล้ทะเล จึงพัฒนาตัวเองเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลของภูมิภาคและสืบเนื่องจากการติดต่อค้าขายนี่เอง ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างผู้คนและวัฒนธรรม เกิดเป็นความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมที่หลากหลายขึ้นในแผ่นดินไม่ว่าจะเป็นการเมือง การทหาร ภาษา และสถาปัตยกรรม
<br>         <u>สยามยุทธ์</u> เหตุแห่งสงครามในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีมูลเหตุใหญ่ๆ คือ ความต้องการแสดงพระองค์ของกษัตริย์ ในฐานะ “พระจักรพรรดิ์” เหนือพระเจ้าแผ่นดินในดินแดนอื่น และเพื่อกวาดต้อน “คน” อันเป็นแรงงานและกำลังรบ รวมถึงการครอบครองสินค้าสำคัญของรัฐอื่น สงครามจึงไม่ใช่เรื่องของรัฐต่อรัฐ หากเป็นเรื่องของพระมหากษัตริย์รัฐหนึ่งกับพระมหากษัตริย์อีกรัฐหนึ่ง และนอกจากการสู้รบแล้ว ยังมีการแสดงถึงภูมิปัญญา การวางกลยุทธ์ กลุ่มชาติพันธุ์ และศิลปกรรมอีกด้วย
<br>


<br><b>ตู้ที่ 4 กรุงเทพฯ ภายใต้ฉากอยุธยา</b>
<br>         เรื่องราวเมื่อครั้งสิ้นกรุงศรีอยุธยา ชาวกรุงศรีฯ ก็สร้างเมืองของพวกเขาขึ้นมาใหม่บนผืนดิน “บางกอก” ซึ่งพวกเขาได้จำลองแนวคิดและสืบสานวัฒนธรรมมาจากเมืองเก่ามากมาย อีกทั้งเมื่อเริ่มสร้างกรุงใหม่ จึงได้เกณฑ์ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติมาเป็นแรงงาน จนเมื่อสร้างเสร็จจึงลงหลักปักฐานกลายเป็นชาวกรุงเทพฯ ในที่สุด<br>
<br><b>ตู้ที่ 5 กำเนิดประเทศไทย</b>
การติดต่อกับโลกตะวันตก ทำให้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ ในสังคมสยามหลายด้าน การเริ่มสร้างถนน ไม่เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการคมนาคมเท่านั้น หากยังเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนที่คุ้นชินกับสายน้ำและความแช่มช้า นับจากนี้ ถนนจะเร่งกงล้อแห่งความเปลี่ยนแปลงให้สยามเปลี่ยนโฉมไปตลอดกาล
<br>
<br>         <u>เปลี่ยนจากสยามเป็นประเทศไทย	</u>
<br>         จากสยาม ทำไมกลายเป็นไทย ห้องนี้จะกระตุ้นให้เกิดการค้นหาคำตอบว่า “วันเกิดประเทศไทยคือวันที่เท่าไหร่” และ “กรมโฆษณาการเกี่ยวข้องอย่างไร”
<br>         <u>สีสันตะวันตก</u>
<br>         แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์โลกใหม่ที่เกิดขึ้นอย่างมีชีวิตชีวา ภายหลังความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทศวรรษ 1940 เศรษฐกิจที่กำลังรุ่งเรือง
<br>         <u>เมืองไทยวันนี้</u>
<br>         ผ่านกาลเวลามากว่า 3,000 ปี มีสิ่งใดบ้างที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น จนฝังตรึงเป็น “ดีเอ็นเอ” ของความเป็นไทย มีสิ่งดีๆ ใดบ้างที่ยังอยู่กับเรา และมีสิ่งดีๆใดบ้างที่หล่นหายไปอย่างน่าเสียดาย ภาวะอันสับสนของคนรุ่นปัจจุบันน่าจะแก้ไขได้ หากทุกคนเรียนรู้ “ความเป็นไทยที่แท้จริง” ความเป็นไทยอยู่บนพื้นฐานของความหลากหลาย “ความเป็นไทยที่รู้จักเลือกรับและปรับใช้” นั่นคือ การผสมผสานสิ่งดีงามจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของเรา
“วันพรุ่งนี้ของประเทศไทยจะเป็นเช่นไร คนรุ่นปัจจุบันเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้” </p>