ระหว่างวันที่ 18 - 20 มกราคม 2568 
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ได้ลงพื้นที่ติดตามโครงการวิจัย ชุมชนนวัตกรรม โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และทีมประสานงาน ได้แก่ 
รศ.ดร.พีรเดช  ทองอำไพ
คุณเบญจมาศ ตีระมาศวณิช
อาจารย์สุปราณี จงดีไพศาล
คุณจิริกา  นุตาลัย
คุณบัญญัติ คำบุญเหลือ 
และ รศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ 
ลงติดตามและให้ข้อเสนอแนะโครงการวิจัยภายใต้การทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำนวน 3 โครงการ
18 มค 2568 โครงการวิจัย “นวัตกรรมการจัดการความชื้นในป่าชุมชนรองรับอุบัติภัยธรรมชาติบนทฤษฎีป่าเปียก 
"เปียก ป้อง ป่า Sandbox" โดยความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายป่าชุมชนอย่างยั่งยืน” เป็นโครงการวิจัยร่วม 3 สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เปิดเวทีโดย รศ.ดร.เจษฎา มิ่งฉาย รองอธิการบดี และนำเสนอโครงการโดย ผศ.ภูภัศ ปภาณ์ณภาภูมิษ์ (ผู้อำนวยการแผน) อ.ดร.วิเชียร ไชยลาด (หน.โครงการย่อย) และ ผศ.ดร.กิตติ  เมืองตุ้ม (หน.โครงการย่อย) และ นายกิตติ เลิศล้ำ (นวัตกรเตาตายากิ) ร่วมด้วยกำนันตำบลผาเลือด นวัตกรกรรมการป่าชุมชน เจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อบต.ผาเลือด และได้ทำการทดลองการทำหลมดักความชื้นในป่าชุมชนบ้านปากทับ 
19 มค 68 โครงการวิจัยชุดโครงการวิจัย“ก้อนเชื้อเห็ดพลังสูง ชุมชนนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้การผลิตก้อนเชื้อเห็ดพลังสูงเพื่อเศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน” เปิดเวทีโดย ผศ.ดร.กิตติ  เมืองตุ้ม ผู้อำนวยการสถถาบันวิจัยและพัฒนา และนำเสนอโดย ผศ.ดร.ปฏิพัทธิ์ ถนอมพงษ์ชาติ (ผู้อำนวยการแผน) ผศ.ดร.ศิวัตม์ กมลคุณานนท์ (หน.โครงการย่อย) และ อ.ดร.สุทธิดา  วิทนาลัย (หน.โครการย่อย) ร่วมด้วยนายสหวัฒน์ ราชภักดี (นวัตกรก้อนเห็ดพลังสูง) และนวัตกรอีก 15 คน ร่วมเวที ณ ฟาร์มเห็ดพิชัย และฟาร์มเปิดดอกเห็ด ตำบลนาอิน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์
20 มค 68 โครงการวิจัย
"นวัตกรรมการจัดการมะม่วงหิมพานต์คุณภาพเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก" เปิดเวทีโดย ผศ.ดร.กิตติ เมืองตุ้ม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นำเสนอโดย ผศ.ดร.พจนีย์ แสงมณี (ผู้อำนวยการแผน) และ ผศ.ดร.กุลยา อุปพงษ์ (หน.โครงการย่อย) พร้อมด้วย คุณสุทธิรัน์ ปาลาส (นวัตกร) คุณฐิติวัชร ศิริโรจนาศราพร (นวัตกร) คุณทองแดง (นวัตกร) และผู้แทนหน่วยงานราชการ เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด และพัฒนาชุมชนจังหวัด 
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ณ แปลงเรียนรู้การเพาะปลูกมะม่วงหิมพานต์คุณภาพ และศาลาประชาคม ตำบลหาดล้า อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
จากการลงติดตาม ทำให้เห็นศักยภาพการทำงานวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ที่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต และความมั่นคงทางอาหาร จากกระบวนการ LIP ที่มีความหลากหลายในการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกับนักวิขาการ 
ภาพ/ข่าว สถถาบันวิจัยและพัฒนา