วันที่ 28 สิงหาคม 2567 
อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มอบหมายให้ อาจารย์ ดร. นภาภรณ์ จันทร์สี ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นผู้แทนเข้ารับรางวัล “การประกวดผลงานวิศวกรสังคมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจําปี 2567” ชื่อผลงาน “แป้งกล้วยน้ำว้าสำหรับเค้กกล้วยตากเพื่อสุขภาพและปุ๋ยอินทรีย์จากหน่อกล้วย” พื้นที่บ้านน้ำรี อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เจ้าของผลงานคือ ทีมวิศวกรสังคมคณะเกษตรศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา 2 ท่าน ได้แก่ อาจารย์ ดร.นันทา เป็งเนตร และ อาจารย์วราภรณ์ ภู่ภักดีพันธ์ ในงาน“มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2567 (Thailand Research Expo 2024) จัดโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้พิจารณา กระบวนการวิศวกรสังคมเป็นกิจกรรมที่มุ่งเป้าที่การสร้างนักศึกษาวิศวกรสังคมให้กลายเป็นบัณฑิต นักคิด นักสื่อสาร นักประสาน และนักสร้างนวัตกรรมเพื่อชุมชน และมีการใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม 5 ประเภท คือ ฟ้าประทาน , นาฬิกาชีวิต , TimeLine พัฒนาการ TimeLine กระบวนการ และ M.I.C Model (Modify (M) , Improve (I), Create (C)) เพื่อให้วิศวกรสังคมมีคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพมีงานทํา และเป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย ให้นักศึกษามีความสามารถและทักษะเพื่อการดํารงชีวิตและการทํางานในอนาคต สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนได้ รวมทั้งความสำคัญของการสนับสนุนการพัฒนา โดยได้รับเกียรติจากประธานกิตติมศักดิ์ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี รวมถึงจัดปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ประสบการณ์เมื่อครั้งถวายงานแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9“ บิดาแห่งการวิจัย โดยท่านสุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขานุการมูลนิธิชัยพัฒนา
ภาพ/ข่าว PR URU