วันที่ 17 มีนาคม 2567 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กันต์ อินทุวงศ์ จัดกิจกรรมพิธีส่งมอบนวัตกรรม “การจัดการนวัตกรรมรับใช้สังคมด้วยระบบสูบน้พลังงานทดแทนในการแก้ปัญหาภัยแล้งโดยการขับเคลื่อนชุนชนพึ่งพาตนเองโดย นวัตกรช่างชุมชน” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดยมีดร.วิภารัตน์ ดีอ่องผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นประธานในการเปิดกิจกรรม พร้อมด้วย ผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(พล.ท. นุกูล นรฉันท์) ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ (นายชุติเดช มีจันทร์) นายอำเภอสอง (นายศุภชัย บุญทิพย์) พลังงานจังหวัดแพร่ (นายอรรถพล อ่างคำ) ประมงจังหวัดแพร่ (นายสังวาล ดูระยับ) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (นายอนุวัธ วงศ์วรรณ) คณะผู้ทรงคุณวุฒิของ วช. หัวหน้าหน่วยราชการ และคณะอาจารย์นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พี่น้องเกษตรกร และผู้มีเกียรติ ทุกท่าน สืบเนื่องจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ในการใช้ประโยชน์องค์ความรู้จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่: ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยวิจัยและนวัตกรรม โดยให้ความสำคัญกับการบูรณาการเชื่อมโยงร่วมกับสถาบันการศึกษา/หน่วยงานผลิตองค์ความรู้การวิจัย หน่วยงานภาคปฏิบัติที่ทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ และกลุ่มเป้าหมาย ในการนำองค์ความรู้การวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้อนุมัติทุนอุดหนุนให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในการดำเนินโครงการ “การจัดการนวัตกรรมรับใช้สังคมด้วยระบบสูบน้ำพลังงานทดแทนในการแก้ปัญหาภัยแล้งโดยการขับเคลื่อนชุนชนพึ่งพาตนเองโดย นวัตกรช่างชุมชน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการขับเคลื่อนงานโดยขับเคลื่อนชุนชนพึ่งพาตนเองโดยนวัตกรช่างชุมชน และเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการนวัตกรรมรับใช้สังคมในรูปแบบการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วม ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการดังกล่าวได้รับความร่วมมือจาก กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดแพร่ ในการขยายผลนวัตกรรมสู่พื้นที่ชุมชนสังคม ซึ่งทางคณะนักวิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ในการส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วย กังหันน้ำ รถเข็นสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ สถานีสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์แบบทุ่นลอย และสถานีสูบน้ำพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ ภาพ/ข่าว คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม